UFABETWINS เรียนรู้จากกรณีของไทย : สารกระตุ้นมีอิทธิพลกับวงการกีฬาจนต้องลงโทษแบนเลยหรือ?

UFABETWINS  ถือเป็นข่าวใหญ่ในวงการกีฬาไทยรับไตรมาสสุดท้ายปี 2021 เมื่อ องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นโลก หรือ WADA

เรียนรู้จากกรณีของไทย : สารกระตุ้นมีอิทธิพลกับวงการกีฬาจนต้องลงโทษแบนเลยหรือ?

 ตัดสินลงโทษประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากทำผิดกฎเรื่องสารต้องห้ามเกี่ยวกับนักกีฬาในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย

ส่งผลให้บุคลากรที่ดำรงตำแหน่งในสหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติ ต้องถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงไม่สามารถใช้ชื่อประเทศไทย และธงชาติไทยในทัวร์นาเมนต์ระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นบทลงโทษที่ค่อนข้างหนัก หากเทียบกับความบกพร่องที่ประเทศไทย ไม่สามารถบังคับใช้กฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก อย่างเต็มรูปแบบ

Main Stamd หยิบกรณีที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้อิทธิพลของสารกระตุ้นต่อวงการกีฬา ถึงเหตุผลที่ WADA ต้องเอาจริงเอาจังกับโทษแบน แม้ชาติต่าง ๆ จะมีความผิดเล็กน้อยก็ตาม

สรุปบทลงโทษของ WADA ต่อวงการกีฬาไทย

ความวุ่นวายทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่าง WADA กับ วงการกีฬาไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2021 หลังมีการออกแถลงการณ์จากองค์กรต่อต้านสารกระตุ้นโลก ถึงการไม่ปฏิบัติตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก 2021 (World Anti-Doping Code 2021) ของ 5 องค์กร ประกอบด้วย องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นของประเทศไทย, อินโดนีเซีย, เกาหลีเหนือ, สมาพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติผู้พิการทางการได้ยิน (DIBF) และ International Gira Sports Federation (IGSF)

WADA กล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้เริ่มจากการประชุมระหว่าง WADA และ คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (CRC) เมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 2021 โดยฝ่ายหลังรายงานถึงการไม่ปฏิบัติตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลกของ 8 องค์กร และแนะนำให้ WADA แสดงสิทธิ์จะลงโทษองค์กรที่ไม่ปฏิบัติตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก

1

 

วันที่ 15 กันยายน 2021 ทาง WADA จึงคำชี้แจงอย่างเป็นทางการไปยังทุกองค์กรที่ไม่ปฏิบัติตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก 2021

โดยขีดเส้นใต้ให้ทั้ง 8 องค์กรปฏิบัติตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก ภายใน 21 วัน ซึ่ง องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นของเยอรมนี, เบลเยียม และมอนเตเนโกร สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แตกต่างจากประเทศไทย และอีก 4 องค์กรที่กล่าวไปข้างต้น

WADA ชี้แจงในแถลงการณ์ดังกล่าวว่า องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นของประเทศไทย บกพร่องในการนำกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก 2021 ไปปรับใช้กับนักกีฬาในประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านการใช้กฏหมายของประเทศไทย ส่งผลให้วงการกีฬาไทยต้องยอมรับบทลงโทษที่ตามมา ได้แก่ การถูกถอดถอนสิทธิประโยชน์จาก WADA ซึ่งรวมถึง การระงับสิทธิเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาที่ถูกจัดหรือร่วมจัดโดย WADA

ประเทศไทย ยังถูกตัดสิทธิในการส่งบุคลากรเข้าดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในสหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติ และยังไม่สามารถเป็นเจ้าภาพการจัดกีฬาระดับภูมิภาค ทวีป หรือระดับโลก รวมถึงไม่สามารถใช้ธงชาติไทยในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ โดยบทลงโทษนี้จะคงสถานะไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรืออาจจะยาวนานกว่านั้น หากไทยไม่สามารถแก้ไขข้อกฎหมายได้ตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลกของ WADA

ทั้งนี้ นักกีฬาจากประเทศไทยไม่ได้ถูกแบนการแข่งขันกีฬาระดับโลก เพียงแต่ไม่สามารถใช้ธงชาติไทยระหว่างการแข่งขันเท่านั้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถจัดการแข่งขันกีฬา และใช้ธงชาติไทยในการแข่งขันระดับโอลิมปิกเกมส์ และพาราลิมปิกเกมส์ ส่งผลให้บทลงโทษจาก WADA ไม่ส่งผลกระทบต่อทัพนักกีฬาไทยในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวในช่วงต้นปี 2022 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แต่อย่างใด

สารกระตุ้น ปัญหาที่ใหญ่กว่าเกมกีฬา

กล่าวตามตรง บทลงโทษที่ประเทศไทยได้รับจาก WADA ไม่รุนแรงเท่าอินโดนีเซีย และเกาหลีเหนือ ซึ่งถูกตัดสินว่า ไม่ปฏิบัติตามกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก 2021 เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบและควบคุมการใช้สารกระตุ้นในนักกีฬา ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับรัสเซีย เมื่อปี 2019 ส่งผลให้นักกีฬาทีมชาติรัสเซียไม่มีสิทธิลงแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ 2020 และต้องลงแข่งขันในนามนักกีฬาคณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย (ROC) แทน รวมถึงนักกีฬา ทีมกีฬาจากรัสเซีย ที่ต้องลงแข่งภายใต้ธงของสหพันธ์กีฬานั้น ๆ ประจำประเทศ

การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ชี้แจงว่า ประเทศไทยไม่เคยบกพร่องในการตรวจสอบและควบคุมการใช้สารกระตุ้นในนักกีฬา เพียงแต่ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 กลับไม่สอดคล้องกับกฎการต่อต้านสารกระตุ้นโลก 2021 ที่กำหนดให้นักกีฬาสามารถตรวจสารกระตุ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่กฎหมายของประเทศไทยกำหนดให้นักกีฬาสามารถตรวจสารกระตุ้นระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือ ในระหว่างเวลาทำการ นอกจากนี้ องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นของประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องความไม่เป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของ WADA

ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตลอด แต่เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายระดับชาติย่อมต้องใช้เวลา ซึ่งตั้งเป้าหมายหวังจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยภายในเวลา 3-4 เดือน อย่างไรก็ตาม ดร.ก้องศักด ยอมรับว่า ประเทศไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันเส้นตาย 21 วันของ WADA บทลงโทษที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงเพราะ ไม่สามารถแก้ไขกฎหมายได้ตามกำหนดเท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการตรวจหาสารกระตุ้นแต่อย่างใด

คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล

Author: admins